TAG : ค่าน้ำสำหรับปะการังอ่อน, ค่าน้ำสำหรับปะการังแข็ง, แคลเซียม, แมกนีเซียม, Alkalinity, เริ่มเลี้ยงปะการัง, ตู้ปะการัง, Reef Care program เมื่อคราวก่อนผมได้อธิบายอุปกรณ์เบื้องต้นของการเริ่มต้นทำตู้ปลาทะเลไปแล้ว หวังว่าทุกท่านคงได้ทำการบ้านและมีอุปกรณ์หร้อมสำหรับการเรื่องเลี้ยง หรือถ้าท่านใดไม่อยากเจอปัญหากับผู้รับเหมา ต้องหาช่างเฟอร์นิเจอร์ฝีมือดี กลัวต้องโดนหลอกขายสินค้าหรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร หากเรามีตัวช่วยอย่าง Redsea Max ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบให้พร้อมสำหรับ Reef spec อยู่แล้ว ก็สามารถกำจัดข้างไปได้ทั้งหมด งัั้นเราต่อกันสำหรับท่านได้มีอุปกรณ์เบื้องต้นครบแล้ว ความสนุกของการมีตู้ทะเลคือ มีเรื่องต่างๆมากมายให้เราเรียนรู้ ได้เลือกเปลี่ยนกับคนที่ชอบอะไรเหมือนกัน เป็นงานอดิเรกที่สนุกครับ วันนี้เรามาเรียนรู้พื้นฐานการมีสิ่งมีชีวิตเบื้องต้นผ่านโปรแกรมที่ชื่อว่า Reef care program หรือเรียกสั้นๆว่า "RCP" ในคลิปวิดีโอด้านล่าง มีทั้งหมด 5 ตอนนะครับ เพียงแค่ 30 นาที เราก็จะได้เข้าใจธรรมชาติของทะเลมากขึ้นครับ ------------------------------------------------------------------------- Red sea ได้ออกแบบ Program เพื่อช่วยให้เข้าใจพื้นฐานของการมีตู้ทะเลงอย่างง่าย ด้วย Reef Care Program หรือ เรียกสั้นๆว่า RCP โดยในคลิปแรกจะอธิบายแนะนำถึงพื้นฐาน 4 หัวข้อที่เราควรจะรู้ แบ่งออกเป็น 1. รู้จักแร่ธาตุสำคัญ ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และ KH ว่าในแต่ละสภาพแวดล้อมควรมีปริมาณเท่าไหร่ 2. การควบคุมตะไคร่ ที่จะทำให้ตู้ปลาของเราไม่สวยงาม และรบกวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตได้ 3. แร่ธาตุอื่นๆ ที่จำเป็นต่อปะการัง 4. การเร่งสี เพิ่มสี ของปะการัง โดยจุดประสงค์ของโปรแกรมคือ การให้เรามีความเข้าใจ ในหัวข้อดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ระยะแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิต การเติบโต ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร 2. การแนะนำระดับค่าน้ำให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดในการเลี้ยงสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภท 3. แร่ธาตุ ที่ Addictive ต่างๆ หรือน้ำยาต่างๆที่เราต้องใช้ในการดูแลปะการัง ตอนนี้สิ่งที่คุณควรคิด คือ คุณชอบปะการังแบบไหน ปะการังแบ่งออกได้อย่างง่าย 3 ประเภท 1. ปะการังอ่อน (Soft coral) 2. ปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ (Large polyps stony coral) หรือสั้นๆว่า LPS 3. ปะการังโครงแข็งโพลิปเล็ก (small polyps stony coral) หรือสั้นๆว่า SPS หรือ เขากวาง ค่าคุณภาพน้ำที่เราต้องรู้หลักๆ มี 3 ค่า 1. Alkalinity หน่วยเป็น dKH 2. Calcium 3. Magnesium ซึ่งจะเป็นแร่ธาตุและค่าน้ำที่สำคัญในทะเล ซึ่งเราจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Test kit ไว้วัดระดับ แร่ธาตุเหล่านี้ ว่าอยู่ในระดับใด นอกจากนี้น้ำที่เราใช้เปลี่ยนในตู้ทะเล จะต้องใช้เกลือผสมซึ่งจะต้องเป็นเกลือเฉพาะทาง ทาง Red sea ก็มี Redsea salt และ Redsea coral pro จำหน่ายเช่นเดียวกัน เราจะนำมาผสมกับน้ำเปล่า ซึ่งแนะนำถ้าน้ำประปานี้ สามารถผ่านระบบการกรอง RO/DI ได้ก็จะดีมากครับ โดย ระดับความเค็มในน้ำเราจะวัดกันในหน่วย PPT (part per thousand) หรือ ในน้ำ 1,000 ส่วน มีเกลือกี่ส่วน โดยทั่วไปเราจะรักษาระดับที่ 33 -35 ppt เราสามารถวัดอย่างง่ายได้โดยได้ กล้องวัดความเค็ม (refractometer) ของ Red sea * RO/Di ย่อมาจาก Reverse Osmosis และ De-ionized เป็นกระบวนการกรอง แร่ธาตุส่วนเกินที่ตกค้างในน้ำปะปาออกไป ระบบ RO จะกรองได้ 90% และ Di จะกรองได้อีกประมาณ 9% เราจะหมดห่วงกับ phosphate ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการขึ้นของตะไคร่น้ำ และแร่ธาตุอื่นๆ ทีนี้ ระหว่างนี้การบ้านก็คือ ลองหาภาพหาข้อมูลดูนะครับว่าชอบเลี้ยงปะเภทไหน คนที่เริ่มส่วนใหญ่จะลองเลี้ยงเริ่มจาก Soft coral หรือ LPS (บางชนิด) เพราะดูแลค่อนข้างง่าย เทียบกับ SPS ไม่ต้องควบคุมค่าน้ำให้นิ่งมากกนัก แร่ธาตุก็ไม่ต้องเติม เพียงแค่มีการเปลี่ยนน้ำเดือนละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว คนเลี้ยงไปสักพักจะเริ่มท้าทายตัวเองด้วยการเลี้ยง SPS เพราะเมื่อทำเราทำให้มันมีสีสันสวยงามเหมือนลูกกวาดได้ จะเป็นความฟินแบบหนึ่งในชีวิต หมายเหตุ ค่าน้ำที่เหมาะสมสำหรับปะการังแต่ละประเภท 1. Soft coral - 8.2 dKH , 430 Ca 1280 Mg 2. LPS coral - 12.1 dKH , 440 Ca 1340 Mg 3. SPS coral - 12.6 dKH , 465 Ca 1390 Mg ใครใจร้อน หาลิ้งหาดูได้จนจบได้ที่ http://www.redseafish.com/videos/#prettyPhoto ส่วนใครที่อยากติดตาม เราจะทยอยโพสให้นะครับและอธิบายให้ฟังนะครับ มีคำถามสงสัย ยินดีให้คำปรึกษาครับ -------------------------------------------------------------------------- Join the club TAG: ค่าน้ำสำหรับปะการังอ่อน, ค่าน้ำสำหรับปะการังแข็ง, แคลเซียม , แมกนีเซียม, Alkalinity, เริ่มเลี้ยงปะการัง, ตู้ปะการัง, Reef Care program
0 Comments
Leave a Reply. |